เมนู

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนฺธา ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 5 อธิบาย
ว่า อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านั้น อันพระโยคาวจรพึงเห็นแจ้ง โดยการเข้า
ไปกำหนดหมายวิปัสสนา และด้วยสามารถแห่งการรอบรู้ ด้วยญาตปริญญา
เป็นต้น.
บทว่า ทิฏฐา ยถาถูตํ ความว่า เห็นแล้วโดยไม่ผิดพลาด โดย
นัยมีอาทิว่า นี่ทุกข์ ดังนี้ ด้วยมรรคปัญญา อันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา.
บทว่า ภวา สพฺเพ ปทาลิตา ความว่า กรรมภพ และอุบัติภพ
ทั้งปวง มีกามภพเป็นต้น อันเราทำลายแล้ว คือกำจัดแล้ว ด้วยศาสตราคือ
มรรคญาณ. อธิบายว่า กรรมภพ และอุบัติภพ ย่อมชื่อว่า เป็นอันเราทำ
ลายแล้ว ด้วยการทำลายกิเลสได้ นั่นเอง. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า
ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี ดังนี้. ความของคาถานั้น ข้าพเจ้า
กล่าวไว้ในหนหลังแล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปวิฏฐเถรคาถา

8. อัชชุนเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอัชชุนเถระ


[225] ได้ยินว่า พระอัชชุนเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราอาจยกตนจากน้ำ คือ กิเลส ขึ้นบนบก คือ
พระนิพพพานได้ เหมือนคนที่ถูกห้วงน้ำใหญ่พัดไปแล้ว
ยกตนขึ้นจากน้ำ ฉะนั้น เราแทงตลอดสัจจะ ทั้ง-
หลายแล้ว.